(สังวรจันทสรราษฎรวิทยา)

ความรู้เกี่ยวกับภาษา PHP ภาษาโปรแกรมที่เหมาะสำหรับนักเรียน สามาร


PHP เป็นภาษาสคริปต์ ( Scripting Language ) คำสั่งต่างๆ จะเก็บในรูปของข้อความ (Text)
อาจเขียนแทรกอยู่ภายในภาษา HTML หรือใช้งานอิสระก็ได้ แต่ในการใช้งานจริงมักใช้งานร่วมกับภาษา HTML ดังนั้นการเขียนโปรแกรมนี้ต้องมีความรู้ด้านภาษา HTML เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามเราสามารถใช้โปรแกรมประยุกต์มาช่วยอำนวยความสะดวกในการสร้างงานได้ เช่น Macromedia Dreamweaver หรือโปรแกรมประเภท Editor เช่น EditPlus ฯลฯ โปรแกรมเหล่านี้จะช่วยจำแนกคำ เช่น คำสั่ง คำทั่วไป ตัวแปร ฯลฯ ให้มีสีต่างกันเพื่อสะดวกในการสังเกต และมีตัวเลขบอกบรรทัดทำให้สะดวกในการแก้ไข

ตัวอย่างการเขียน PHP เบื้องต้นอย่างง่าย
โปรแกรมแรกที่คุณจะได้เห็นในภาษา PHP จะเป็นโปรแกรมในการแสดงผลข้อความ "Hello World!" ออกทางหน้าจอ

<?php

echo "Hello World!";

?>
ในตัวอย่างเป็นโปรแกรมแสดงข้อความออกทางหน้าจอ คุณสามารถลองเปลี่ยนเป็นข้อความที่คุณต้องการได้เพื่อดูผลลัพธ์ของมัน

ในการเขียนโปรแกรมภาษา PHP โค้ดของโปรแกรมจะต้องอยู่ภายในบล็อคคำสั่ง <?php และ ?>

เพื่อรันโปรแกรมสำหรับบน Windows เปิด Command line ขึ้นมาแล้วพิมพ์คำสั่ง php c:\project\hello.php ซึ่งเราได้ใช้คำสั่ง php ที่ได้จากการติดตั้งไปแล้วในบทก่อนหน้า และตามด้วยที่อยู่ของไฟล์ที่สคริปของ PHP อยู่

ความสามารถของภาษา PHP
เป็นภาษาที่มีลักษณะเป็นแบบ Open source ผู้ใช้สามารถ Download และนำ Source code ของ PHP ไปใช้ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
เป็นสคริปต์แบบ Server Side Script ดังนั้นจึงทำงานบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ ไม่ส่งผลกับการทำงานของเครื่อง Client
PHP สามารถทำงานได้ในระบบปฎิบัติการที่ต่างชนิดกัน เช่น Unix, Windows, Mac OS หรือ Risc OS อย่างมีประสิทธิภาพ
PHP สามารถทำงานได้ในเว็บเซิร์ฟเวอร์หลายชนิด เช่น Personal Web Server(PWS), Apache, OmniHttpd และ Internet Information Service(IIS) เป็นต้น
ภาษา PHP สนับสนุนการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming)
PHP มีความสามารถในการทำงานร่วมกับระบบจัดการฐานข้อมูลที่หลากหลาย ซึ่งระบบจัดการฐานข้อมูลที่สนับสนุนการทำงานของ PHP เช่น Oracle, MySQL, FilePro, Solid, FrontBase, mSQL และ MS SQL เป็นต้น
PHP อนุญาตให้ผู้ใช้สร้างเว็บไซต์ซึ่งทำงานผ่านโปรโตคอลชนิดต่างๆ ได้ เช่น LDAP, IMAP, SNMP, POP3 และ HTTP เป็นต้น
โค้ด PHP สามารถเขียน และอ่านในรูปแบบของ XML ได้
08 ธ.ค. 2563 0 1,009
ยังไม่มีความคิดเห็น โพสต์เลยตอนนี้
ความคิดเห็น
ไฟล์อัปโหลด ชนิด jpg, jpeg ขนาดไฟล์ไม่เกิน 1024
^